มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 1860 ครั้ง
เอไอเอ ประเทศไทย ขยายระยะเวลาการลงทะเบียน โครงการ “ชัวร์ก่อนฉีด ฟรี! ประกันผลกระทบในการฉีดวัคซีนโควิด 19” พิเศษสำหรับลูกค้าเอไอเอ ที่ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน AIA iService ถึงวันที่ 30 กันยายนนี้
เอไอเอ ประเทศไทย ประกาศขยายเวลาลงทะเบียนร่วมโครงการ “ชัวร์ก่อนฉีด ฟรี! ประกันผลกระทบในการฉีดวัคซีนโควิด 19” เพื่อตอบรับกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ปัจจุบันยังคงมีความน่าเป็นห่วง พร้อมสนับสนุนนโยบายภาครัฐที่เร่งเดินหน้าแผนฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้กับประชาชนทั่วประเทศ ด้วยการมอบผลประโยชน์พิเศษเพิ่มเติมจากกรณีได้รับผลกระทบในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าเอไอเอ ให้คลายความกังวลใจถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการได้รับวัคซีน เพียงลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน AIA iService เวอร์ชันใหม่ จากเดิมตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน ถึง 30 มิถุนายน 2564 ขยายระยะเวลาเป็นตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน ถึง 30 กันยายน 2564 ซึ่งโครงการดังกล่าวถือเป็นนโยบายเชิงรุกของเอไอเอ ประเทศไทย ที่มุ่งส่งเสริมให้คนไทยสามารถใช้ระบบประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง โดยมีเอไอเอ อยู่เคียงข้างและพร้อมฝ่าฟันทุกอุปสรรคร่วมกันกับคนไทย
สำหรับลูกค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าว ต้องเป็นลูกค้าที่กรมธรรม์ยังมีผลบังคับ ยกเว้นลูกค้าประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองสินเชื่อ (Credit Life) โดยลงทะเบียนผ่านแอป AIA iService ก่อนการฉีดวัคซีนโควิด 191 ในประเทศไทยเท่านั้น ซึ่งผลประโยชน์หากมีอาการแพ้หรือผลกระทบข้างเคียงจากการได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) มีรายละเอียดเงื่อนไขดังนี้
- บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ค่าชดเชยรายวัน ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1.1 ผู้เอาประกันภัยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย ในช่วงวันที่ 19 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564
1.2 ผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยในตามความจำเป็นทางการแพทย์ เนื่องจากอาการแพ้หรือผลกระทบข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ภายใน 60 วันนับจากวันที่ได้รับการฉีดวัคซีนในแต่ละครั้ง
1.3 บริษัทจะคุ้มครองผลประโยชน์ค่าชดเชยรายวัน จากการเข้ารับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน สูงสุดไม่เกิน 1 ครั้งต่อการฉีดวัคซีนแต่ละครั้ง และไม่เกิน 2 ครั้งต่อรายชีวิต โดยบริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ค่าชดเชยรายวันเป็นจำนวนเงิน 1,000 บาทต่อวัน (สูงสุดไม่เกิน 14 วัน) ต่อการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในแต่ละครั้งให้แก่ผู้เอาประกันภัย
- บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์กรณีเสียชีวิต ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายใน 60 วันนับจากวันที่ได้รับการฉีดวัคซีน และต้องเสียชีวิตไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2564 เนื่องจากอาการแพ้หรือผลกระทบข้างเคียงจากการได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส โคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย ในช่วงวันที่ 19 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 โดยบริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ในกรณีนี้ เป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท3 ให้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้เอาประกันภัย
ทั้งนี้ ลูกค้าเอไอเอสามารถลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ4 ในโครงการ “ชัวร์ก่อนฉีด ฟรี! ประกันผลกระทบในการฉีดวัคซีนโควิด 19” ผ่านแอปพลิเคชัน AIA iService เวอร์ชันใหม่เท่านั้น ได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564
โดยลูกค้าเอไอเอ สามารถดาวน์โหลดแอป AIA iService เวอร์ชันใหม่ ผ่านมือถือสมาร์ทโฟนทั้งระบบ iOS และ Android โดยคลิกลิงก์ http://bit.ly/covidsfxpr หรือสแกน QR Code เพื่อดาวน์โหลด และหากลูกค้ามีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อ AIA Call Center 1581
หมายเหตุ :
- ลูกค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษในโครงการ ต้องลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน AIA iService ก่อนการฉีดวัคซีนโควิด19 เท่านั้น
- บริษัทจะไม่จ่ายผลประโยชน์ในข้อนี้ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเริ่มเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในก่อนวันที่ 19 เมษายน 2564 หรือหลังจากวันที่ 31 ธันวาคม 2564
- ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายหลังจากที่มีการจ่ายผลประโยชน์ค่าชดเชยรายวันตามข้อ 1. แล้ว บริษัทจะยังคงจ่ายผลประโยชน์กรณีเสียชีวิตตามเงื่อนไขข้างต้น
- แม้ว่าผู้เอาประกันภัยจะมีบันทึกสลักหลังผลประโยชน์พิเศษเพิ่มเติมจากกรณีได้รับผลกระทบในการฉีดวัคซีนป้องกันเชิ้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) มากกว่าหนึ่งฉบับ บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์นี้ให้เพียงหนึ่งฉบับเท่านั้น
- บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ข้างต้น เมื่อบริษัทได้รับหลักฐานแสดงถึงเหตุแห่งการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตเป็นที่ยอมรับของบริษัทแล้ว
- รายละเอียดความคุ้มครองและข้อกำหนด/เงื่อนไขเป็นไปตามที่ระบุในบันทึกสลักหลังผลประโยชน์พิเศษเพิ่มเติมจากกรณีได้รับผลกระทบในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19)
มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 1860 ครั้ง