สนง.ป.ป.ช. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมาชิกชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต พื้นที่ภาค 6

มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 1990 ครั้ง

สำนักงาน ป.ป.ช. จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมาชิกชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต สู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ครั้งที่ 4 พื้นที่ภาค 6

เมื่อวันที่ 2 ส.ค.64 สำนักงาน ป.ป.ช. โดยสำนักส่งเสริมและบูรณาการการมีส่วนร่วมต้านทุจริตจัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมาชิกชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต สู่สังคม ที่ไม่ทนต่อการทุจริต ครั้งที่ 4 พื้นที่ภาค 6 ภายใต้โครงการ STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Meeting เต็มรูปแบบ

โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย นายอุทิศ บัวศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. นางแก้วตา ชัยมะโน ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบูรณาการการมีส่วนร่วมต้านทุจริต ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค และสมาชิกชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตในพื้นที่ภาค 6 จำนวน 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดตาก จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดอุทัยธานี

การดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ ที่ปรึกษาประธานกรรมการ ป.ป.ช. บรรยายในหัวข้อ “ผลลัพธ์และผลกระทบของการสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการทุจริต” ซึ่งโครงการ “STRONG จิตพอเพียงต้านทุจริต” เริ่มดำเนินโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ.2561 นำร่องจัดตั้งชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตใน 27 จังหวัด ต่อมาปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ได้ขยายผลจัดตั้งชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตครอบคลุม 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร

ในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 – 2564 สมาชิกชมรม STRONG เกิดการตื่นตัวจับตามองแจ้งเบาะแส รวมทั้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริตและเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีความกล้าในการให้ข้อมูลต่อสำนักงาน ป.ป.ช. และการนำเสนอประเด็นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ดังเห็นได้จากประเด็นข่าวในปัจจุบัน เช่น โครงการจัดซื้อเสาไฟฟ้าประติมากรรมการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุอุปกรณ์เพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดช่วงโควิด-19 โครงการอาหารกลางวัน และนมโรงเรียนตลอดจนถึงการทุจริตที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น

สำหรับการดำเนินกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมาชิกชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต พื้นที่ภาค 6 จำนวน 9 จังหวัด ดำเนินการโดย นางสาวพิมพ์พจี ธนนันทวงษ์ เจ้าพนักงานป้องกัน การทุจริตชำนาญการ และนางสาวธนภร แตงจันทร์ เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการ ซึ่งการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน ผลลัพธ์ ผลกระทบ และกระแสสังคมจากการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ผ่านกลไกชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตในการสร้างสังคมสุจริต ระหว่างสมาชิกชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดในพื้นที่ภาค 6 โดยมีผลการดำเนินงานเด่นของชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต ดังนี้

  1. ชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดกำแพงเพชร : การเฝ้าระวังและแจ้งเบาะแสกรณีพบความผิดปกติในการจัดซื้อจัดจ้างเสาไฟฟ้าประติมากรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดกำแพงเพชร
  2. ชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดตาก : การเฝ้าระวังและลงพื้นที่กรณีการครอบครองพื้นที่สาธารณะโดยมิชอบ และการใช้งบประมาณซ่อมแซมสถานที่ราชการโดยไม่คุ้มค่า บริเวณหนองหลวง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
  3. ชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดนครสวรรค์ : การลงพื้นที่และแก้ไขปัญหาการรุกล้ำทางเท้าและพื้นที่สาธารณะในพื้นที่อำเภอลาดยาว และอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
  4. ชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดพิจิตร : การเฝ้าระวังและติดตามโครงการพัฒนาบึงสีไฟเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเขตพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำขนาดใหญ่ของจังหวัดพิจิตร
  5. ชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดพิษณุโลก : การลงพื้นที่และแก้ไขปัญหาป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะ ในพื้นที่ 9 อำเภอ
  6. ชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดเพชรบูรณ์ : การเฝ้าระวังและลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการอาหารกลางวันนักเรียนในพื้นที่อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์
  7. ชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดสุโขทัย : การเฝ้าระวังกรณีการเรียกเก็บเงินค่าจอดรถบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยในช่วงงานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ
  8. ชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดอุตรดิตถ์ : การลงพื้นที่สำรวจการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะ ในพื้นที่อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอลับแล และอำเภอท่าปลา
  9. ชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดอุทัยธานี : การเฝ้าระวังและลงพื้นที่เพื่อป้องกันการทุจริตโครงการอาหารกลางวันนักเรียน ในพื้นที่ 8 อำเภอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563

มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 1990 ครั้ง

You May Also Like

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

แสดง
ซ่อน