เป๊ปซี่โค ประกาศความมุ่งมั่น “น้ำสุทธิเป็นบวก”

มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 2034 ครั้ง

เป๊ปซี่โค ประกาศความมุ่งมั่น “น้ำสุทธิเป็นบวก” ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

“น้ำ” คือปัจจัยสำคัญทั้งต่อการดำรงชีวิตและเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ เป๊ปซี่โค จึงได้ประกาศความมุ่งมั่นไปสู่ “น้ำสุทธิเป็นบวก” (Net Water Positive) ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยตั้งเป้าที่จะเติมน้ำที่สะอาดปลอดภัยกลับคืนสู่แหล่งน้ำในท้องถิ่นมากกว่า 100% ที่บริษัทฯ ใช้ ซึ่งจะทำให้เป๊ปซี่โคเป็นหนึ่งในผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มที่มีประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการน้ำมากที่สุดที่ดำเนินงานในลุ่มน้ำที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อสร้างความยั่งยืนในทุกมิติทั้งในกระบวนการผลิต การเกษตรให้แก่พี่น้องเกษตรกรทุกคน รวมถึงการอุปโภคบริโภคทั่วไป

เพื่อการเข้าถึงน้ำที่สะอาดปลอดภัยซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของวาระการดูแลน้ำแบบองค์รวม มูลนิธิ PepsiCo จึงได้เปิดตัวโครงการมูลค่ากว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนชั้นนำและพันธมิตรระยะยาว WaterAid เพื่อส่งต่อน้ำที่ปลอดภัยไปสู่ครอบครัวในแถบแอฟริกาทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า (Sub-Saharan Africa) และช่วยปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำ สร้างระบบประปาใหม่และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขอนามัยที่เท่าเทียมกัน และส่งเสริมการศึกษาด้านสุขอนามัย นอกจากนี้ยังจะช่วยให้ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงเป็นผู้ดูแลด้านน้ำ การสุขาภิบาล และสุขอนามัยในชุมชนของพวกเขา โดยการจัดหาเงินทุนและการฝึกอบรมเพื่อบำรุงรักษาจุดเชื่อมต่อน้ำและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขาภิบาลสำหรับปีต่อๆ ไป โดยได้ริเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 และได้ขยายขอบเขตการเข้าถึงไปยัง 20 ประเทศ ช่วยเหลือผู้คนไปแล้วกว่า 59 ล้านคน

“น้ำไม่ได้เป็นเพียงองค์ประกอบที่สำคัญของระบบอาหารของเราเท่านั้น แต่ยังเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และการขาดน้ำที่สะอาดและปลอดภัยทั่วโลกเป็นหนึ่งในปัญหาเร่งด่วนที่สุดที่ชุมชนทั่วโลกของเราเผชิญอยู่ในปัจจุบัน” นายจิม แอนดรูว์ หัวหน้าฝ่ายความยั่งยืนของเป๊ปซี่โค กล่าว “การขาดแคลนน้ำเชื่อมโยงโดยตรงกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และที่เป๊ปซี่โค เราเชื่อว่าความพยายามระดับโลกในการเป็น ‘น้ำสุทธิที่เป็นบวก’ (Net Water Positive) เป็นสิ่งสำคัญ เราไม่เพียงแต่มุ่งเน้นการดำเนินงานเพื่อให้แน่ใจว่าผู้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงทรัพยากรที่สำคัญนี้เท่านั้น แต่ยังสร้างความมั่นใจว่าเราจะจัดลำดับความสำคัญของการดูแลน้ำในการดำเนินงานของเราในทุกพื้นที่ด้วย”

ภายใต้วิกฤติโควิด-19 นี้ หลายชุมชนมีความสุ่มเสี่ยงสูงเนื่องจากปัญหาเรื่องน้ำ หลายประเทศเช่นเดียวกับประเทศในแถบแถบแอฟริกาทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า (Sub-Saharan Africa) ขาดโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำหรือการจัดหาน้ำที่สะอาดและปลอดภัยเพื่อป้องกันและรักษาโรค ตัวอย่างเช่น เกือบ 70% ของบ้านเรือนในภูมิภาคนี้ไม่มีที่สำหรับให้ครอบครัวล้างมือด้วยสบู่และน้ำ ประกอบกับการกระจายวัคซีนที่ล่าช้า ทำให้ปัญหาการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ

“ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงแหล่งน้ำไม่เพียงแต่มีส่วนทำให้เกิดความรุนแรงของการระบาดใหญ่ แต่ยังส่งผลกระทบต่อเป้าหมายการพัฒนาอื่นๆ ของภูมิภาคด้วย เช่น การผลิตอาหาร ความเท่าเทียมทางเพศ ความยืดหยุ่นของสภาพอากาศ และการบรรเทาความยากจน เราภูมิใจที่ได้เป็นพันธมิตรอย่างต่อเนื่องกับ WaterAid เพื่อนำโครงการนี้มาสู่ภูมิภาค และรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้ลงทุนในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำซึ่งต้องการทรัพยากรนี้มากที่สุด” C.D. Glin รองประธาน Global Head of Philanthropy ของเป๊ปซี่โค กล่าว

ด้านเป๊ปซี่โค ประเทศไทย ยึดมั่นในนโยบายความยั่งยืนในด้านการบริหารจัดการน้ำ โดยการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ สำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการช่วยรักษาลุ่มน้ำในชุมชน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงทรัพยากรน้ำได้อย่างปลอดภัย

นายสุดิปโต โมซุมดา กรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจอาหารอินโดจีน กล่าวว่า ตลอด 25 ปีที่ผ่านมา เรามุ่งปรับปรุงประสิทธิภาพและพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำ ในปัจจุบันเป๊ปซี่โค ประเทศไทย ส่งเสริมให้เกษตรกรไทยทำการเกษตรอย่างยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล ไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกินพอดี ลดการสร้างมลภาวะ โดยการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการปลูกมันฝรั่งสายพันธุ์โรงงานด้วยระบบน้ำหยด สามารถลดปริมาณการใช้น้ำได้ถึง 30% อีกทั้งโรงงานของเราที่จังหวัดลำพูนและจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสามารถบริหารจัดการทรัพยากรน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพตามพันธกิจของเป๊ปซี่โคที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางน้ำอย่างยั่งยืนโดยดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อลดการใช้น้ำของการดำเนินการผลิตให้ได้อีก 25% ภายในปี 2568 ซึ่งก่อนหน้านี้เราสามารถบริหารจัดการลดการใช้น้ำ 25% ไปแล้วในปี พ.ศ. 2549 รวมถึงมุ่งเน้นด้านการปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่พนักงานของเป๊ปซี่โคให้ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

เป๊ปซี่โค ประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำและสิ่งแวดล้อม จึงได้ทำโครงการส่งเสริม ฟื้นฟู อนุรักษ์แหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โครงการซ่อมแซมฝายและสร้างฝายชะลอน้ำ 100 ฝายในจังหวัดลำพูน เชียงรายและพะเยาในปี พ.ศ. 2562 เพื่อกักเก็บน้ำ ช่วยให้เกษตรกรมีน้ำใช้ในการเกษตรและชุมชนมีน้ำใช้เพื่ออุปโภคบริโภค ซึ่งในปีที่ผ่านมาเราปลูกต้นไม้กว่า 10,000 ต้น ในอำเภอลี้และทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ประสานกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดลําพูน สํานักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งที่ 16 ชุมชนท้องถิ่น และนักวิชาการจากชมรมผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดลนำความรู้งานวิจัยสู่ชุมชนเติมเชื้อเห็ดถอบในกล้าไม้ที่เราปลูกซึ่งเห็ดถอบมีราคาสูงและหาได้ยาก ซึ่งต้องใช้เวลา 2-3 ปีเห็ดก็จะงอกออกมา ชาวบ้านจะมีรายได้เสริมจากการเก็บเห็ดถอบและไม่ต้องเผาต้นไม้เพื่อหาเห็ดอ เป็นการปลูกป่าแบบผสมผสาน ลดปัญหาเรื่องการเผาป่าซึ่งเป็นสาเหตุของฝุ่น PM 2.5 ในอำเภอลี้และทุ่งหัวช้าง และในปี พ.ศ. 2564 นี้ เป๊ปซี่โค ประเทศไทยบริจาคเงิน 6 ล้านบาท ผ่านมูลนิธิรักษ์ไทยเพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการบริหารการฟื้นฟูแหล่งน้ำ รวมถึงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งสำหรับเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ภาคเหนือ ให้มีน้ำเพื่อใช้ทำการเกษตร โดยได้พัฒนาระบบน้ำขนาดเล็กในรูปแบบของบ่อน้ำตื้น สร้างขุดบ่อน้ำบาดาล 240 บ่อให้เกษตรกรมีแหล่งน้ำสำหรับการเกษตร

อีกทั้งสนับสนุนโครงการฟื้นฟูป่าต้นน้ำในการสร้างฝายเพื่อปรับปรุงพัฒนา ฟื้นฟูแหล่งน้ำ บรรเทาปัญหาน้ำป่าไหลหลาก และมีน้ำเพียงพอในการทำการเกษตร อุปโภคและบริโภค เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรและชุมชนให้ดียิ่งขึ้น และร่วมโครงการ “จิตอาสารักษ์แม่น้ำในลุ่มแม่น้ำกวง จังหวัดลำพูน” ซึ่งแม่น้ำกวงเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายหลักในจังหวัดลำพูน ปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติได้เปลี่ยนไปอย่างมาก เนื่องจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการขยายตัวของชุมชน เป๊ปซี่โค ได้จัดทำถังดักไขมันจำนวน 120 ชุด ส่งมอบให้ชุมชนและร้านค้าที่อาศัยอยู่ใกล้บริเวณลุ่มน้ำเพื่อช่วยดักกรองลดการหมักหมมเศษอาหารและจับไขมัน ช่วยปรับคุณภาพน้ำทิ้งก่อนปล่อยทิ้ง เป็นการขับเคลื่อนกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำกวง

มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 2034 ครั้ง

You May Also Like

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

แสดง
ซ่อน