มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 1633 ครั้ง
นักศึกษาวิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 54 จัดกิจกรรมเพื่อสังคม มอบสิ่งของให้ชุมชน ผู้ยากไร้และคนชราชาวไทแสก (Scroll down for English)
คณะคณาจารย์ นำโดย พลเรือตรี พิเศษ ขันแข็ง ผู้บัญชาการวิทยาลัยการทัพเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ และนักศึกษาวิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 54 (วทร.54) โดย น.อ.อัคณัฐ รุ่งสิตา ประธานนักศึกษาวิทยาลัยการทัพเรือ รุ่น 54 จัดกิจกรรมเพื่อสังคม มอบสิ่งของให้ชุมชนตำบลอาจสามารถหรือพี่น้องไทแสก ผู้ยากไร้ คนพิการและคนชรา ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นกิจกรรมนำน้ำใจจากส่วนกลางของสมาชิกวิทยาลัยการทัพเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือสู่ชนบท เนื่องในโอกาสการเดินทางมาศึกษาดูงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ความเป็นมา ของกิจกรรม : “คนไทแสก” คือกลุ่มชาติพันธุ์ เดิมมีภูมิลำเนาอยู่ในตอนกลางของประเทศเวียดนาม ชายแถบเมืองรอง เมืองเว้ ต่อมาเวียดนามพยายามเข้าครอบครอง จึงรุกรานชาวไทแสก จนทำให้ชนไทแสกตกอยู่ในการปกครองของเวียดนาม แต่ยังมีพี่น้องไทแสกบางกลุ่มได้เกณฑ์สมัครพรรคพวกอพยพลงมาทางตอนใต้ ลัดเลาะป่าเขาที่กันดารถึงตอนกลางของประเทศ มาตั้งถิ่นฐานใหม่อยู่ใกล้เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สปป.ลาว ณ บ้านหม้อเตลิง, บ้านทอก, ท่าแค และบ้านโพธิ์ค้ำ “แสก” หมายความว่า “แจ้ง หรือ สว่าง” เป็นชนชาติหนึ่งในตระกูลมอญ-เขมร
ชาวไทแสกที่อพยพจากเมืองแสก ย้ายครอบครัวข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ “บ้านโคกยาว” ปัจจุบันคือบ้านไผ่ล้อม ต.อาจสามารถ อ.เมืองนครพนม จ.นครพนม คนไทแสกที่ย้ายมาในชุดแรกรุ่นบุกเบิกมีจำนวน 1,170 คน ต่อมาชาวไทแสกได้ขยับขยายบ้านช่อง ย้ายถิ่นฐานจาก “บ้านโคกยาว” มาอยู่ที่บ้าน “ป่าหายโศก” ปัจจุบันคือ ต.อาจสามารถ อ.เมือง จ.นครพนม

ภายหลัง “พระสุนทร ราชวงษา (ฝ้าย)” พิจารณาเห็นว่าชาวไทแสกมีความสามารถ มีความรักสามัคคี และเข้มแข็ง สามารถปกครองตนเองได้ จึงยกฐานะชนชาวไทแสกที่อยู่ที่ “ป่าหายโศก” ให้เป็น “กองอาทมาต” (คำว่า “อาทมาด, อาทมาฏ, อาตมาท, อาทมารถ, หรืออาจสามารถ มีความหมายว่า กองกำลังที่เชี่ยวชาญในเพลงดาบสะท้านแผ่นดิน โดยเฉพาะการต่อสู้บนหลังม้าเขาเก่งกว่าใครเลยเชียว และมีความแข็งแกร่งในการสู้รบ “ชาวมอญดั้งเดิม” มักสังกัดอยู่ในกองกำลังนี้มากกว่าใคร ทำหน้าที่เป็น “สายลับ” หรือ “หน่วยสืบราชการลับ” คอยสืบข่าวส่งข่าวให้เจ้าเมืองในยุคนั้น)ทำหน้าที่คอยลาดตระเวนชายแดนแถบลุ่มแม่น้ำโขง
ปัจจุบันชาวไทแสกส่วนมากมีชุมชนใหญ่อยู่ที่ ต.อาจสามารถ อยู่ห่างจากตัวเมืองนครพนม 4 กิโลเมตร และยังมีชนไทแสกบางกลุ่มอพยพโยกย้ายที่อยู่ไปทำมาหากินถิ่นต่างๆ ในจังหวัดนครพนม และรวมทั้งเขต สปป.ลาว และจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ชาวไทแสก ทราบว่าปัจจุบันยังมีไทแสกเชื้อสายเดียวกันอาศัยอยู่ “แคว้นสิบสองปันนา ประเทศจีน” และจังหวัดสมุทรปราการ โดยชาวไทแสกทุกหมู่บ้านทุกกลุ่มไม่ว่าจะอยู่ที่ไทย หรืออยู่ที่ลาวสามารถพูด “ภาษาแสก” สื่อสารพูดคุยกันได้

ชาวบ้านตำบลอาจสามารถ หรือชาวไทแสก นับได้ว่าเป็นเพื่อนบ้านของหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขงกันมานานเนื่องจากมีพื้นที่รอยต่อใกล้กัน ที่ผ่านมาหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขงจะมีโครงการเยี่ยมเยือนชาวบ้านโดยการนำสิ่งของเครื่องใช้ครัวเรือน ผ้าห่ม ยารักษาโรคมามอบให้ผู้ชราและคนยากไร้เป็นประจำ และหากชาวบ้านต้องการความช่วยเหลือจากทหารเรือ เช่น การตรวจรักษาโรค ตรวจฟัน ความต้องการน้ำจากภัยแล้งหรือภัยธรรมชาติอื่นๆ ชาวบ้านก็จะคิดถึงหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขงเสมอมา
รวมทั้งกิจกรรมเพื่อมวลชนที่สำคัญเช่นงานวันเด็กในทุกปี ผู้ปกครองในพื้นที่ก็จะนำเด็กๆ ลูกหลานมาร่วมกิจกรรมในงานวันเด็กที่ นรข.ทุกปี เพราะงานวันเด็กที่นี่จะได้รับการยอมรับว่าของรางวัลเยอะ อาหารอร่อย กิจกรรมการแสดงของพี่ๆ ทหารเรือ โดยเฉพาะการสาธิตการปฏิบัติการทางทหารของหน่วยซีล ที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้เด็กๆ และผู้ร่วมงานได้ชม ในสภาวะการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19 และสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันราคาค่าครองชีพสูงขึ้นในพื้นที่ชุมชนนี้ก็มีผู้ยากไร้ไม่มีงานทำ คนชราที่ถูกปล่อยให้เลี้ยงหลานน้อยๆ บางคนสุขภาพไม่แข็งแรงมีโรคประจำตัวไม่มีคนดูแล จากการที่ชาวบ้านอาจสามารถหรือชุมชนไทแสก กับทหารเรือ นับว่ามีประวัติความใกล้ชิดผูกพันกันมายาวนาน

ในโอกาสการเดินทางมาศึกษาดูงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งนี้ คณะคณาจารย์และนักศึกษาวิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 54 จึงได้จัดหารวบรวมสิ่งของที่จำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวัน และสิ่งของที่จะเป็นประโยชน์ในการใช้ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19 มามอบชาวบ้านผู้ยากไร้ คนชรา และชุมชนชาวไทแสก โดยมีชาวบ้านอาจสามารถหรือชาวไทแสก นำโดย ส.อบจ.ณัตติยา สีใส และกำนันไพรัช สุสิงห์ ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น ก่อนการมอบสิ่งของชาวบ้านได้จัดการแสดงรำพื้นบ้านต้อนรับคณะ

หลังจากนั้น พลเรือตรี พิเศษ ขันแข็ง ผู้บัญชาการวิทยาลัยการทัพเรือ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมครั้งนี้ และได้มอบของให้ใช้ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคโควิด-19 สำหรับ อสม. (อาสาสมัครหมู่บ้าน) ที่ปฏิบัติงานในชุมชน ได้แก่ แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ หน้ากากอนามัย ชุด PPE จำนวน 50 ชุด ยาสีฟัน (เพิ่ม ชุด PPE จำนวน 50 ชุด ยาสีฟัน ) ถ้วยชามพลาสติกและของจำเป็นอื่นๆ และได้มอบชุดอุปโภคบริโภคประจำครัวเรือนให้แก่คนชรา ผู้พิการ และผู้ยากไร้ จำนวน 15 ชุด ประกอบด้วย ข้าวสาร อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง น้ำมันพืช บะหมี่สำเร็จรูป และอื่นๆ นอกจากนั้นคณะนักศึกษาวิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 54 ยังได้มอบ จาน ชาม แก้วเมลามีน จำนวน 3 กล่อง (เพิ่มจำนวน 3 กล่อง) ให้กับ ส.อบจ.ณัตติยา สีใส เพื่อเป็นผู้แทนของนักศึกษาวิทยาลัยการทัพเรือ รุ่น 54 นำภาชนะเมลามีนดังกล่าวไปมอบให้กับชาวบ้านผู้ยากไร้ และชุมชนที่อยู่ห่างไกล ต่อไป

กิจกรรมดังกล่าวสำเร็จลงด้วยดี วทร.รุ่น 54 ต้องขอขอบพระคุณ กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า คุณจินตนา อนันต์ประกฤติ เจ้าของบริษัทอินเตอร์เมลามีน จำกัด และบริษัท เค-แมน ออโต้เซอร์วิส จำกัด ที่กรุณามอบของบริจาคสิ่งของร่วมทำบุญกับคณะนักศึกษาวิทยาลัยการทัพเรือรุ่น 54 ให้เป็นตัวแทนนำสิ่งดีดี น้ำใจเล็กๆ น้อยๆ มาเยี่ยมเยือนและมอบของใช้ที่จำเป็นให้กับชุมชน ชาวบ้าน ผู้ยากไร้และคนชราชาวไทแสกถึงบ้านในครั้งนี้

Corporate Social Responsibility (CSR) News Digest of NWC 54 (2/2021) CSR Activities by Naval War College Class 54: Tai-Saek Community in Nakhon Phanom
On 20 December 2021, a group from the Naval War College (NWC), consisting of current staff and faculty and the NWC class of 54, presided over by RADM Phiset Khankhang Commandant of NWC and CAPT Akkanit Rungsidae (NWC 54 Class President) organized a charity event for the ethnic minority community “Tai Saek” in Ard-Samart subdistrict, Nakhorn Phanom. This philanthropic activity was the second CSR event arranged by NWC Class 54 en route to visit Isan, or Northeastern Thailand. This generous act will enhance both public trust and positive relationships between the Naval War College and the local community.
Located in the immediate neighborhood, Mekhong Riverine Unit (MRU) has developed a positive relationship and a strong bond with the ethnic communal group of Tai-Saek. Various kinds of supports in the form of basic needs such as clothing, medicine, and health services are frequently provided for the aged, the disabled, and the unemployed in the village. Additionally, the MRU organizes frequent public entertainment events, such as the celebration on Children’s Day. This helps to reinforce good values through activities and military demonstration. The MRU contributions to communities are intended to help improve the livelihoods and well-being of the local people and minority groups.
On the occasion of NWC’s visit to the rural site in Ard-Samart sub-district, the Tai-Saek community representatives – Nattiya Srisai, the head of village vollunteers and Pairat Susingh, Village Chief – arranged a welcoming ceremony with a traditional Tai-saek dance to mark the special visit of of NWC group. The NWC Class of 54 placed the offerings of food and household items; including 15 sets of gift baskets reserved for the aged, disabled, and unemployed in the village. COVID protection equipment such as medical masks, face shields, alcohol, and a COVID station (automatic hand sanitizers with thermometer) for Village Health Volunteers (VHV) were also provided. NWC also gave relief goods for the future allocation in the remote areas with the most demand.
Special thanks goes to the Naval Science Department, Somdej Phranangklao Sirikit Hospital, K-Man Auto-service Ltd., Mrs. Jintana Ananprapruek of Inter-Melamine Ltd., …. as the donors for the contributions for this charity event. Thank you for the generous acts of giving together with NWC.
For more information about “Tai-Saek” Tribe in Nakhon Phanom, https://thailandtourismdirectory.go.th/en/attraction/22157
มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 1633 ครั้ง