เปิดเยี่ยมชม “ศูนย์บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด” ครบวงจรแห่งใหม่

มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 1744 ครั้ง

เปิดแนะนำเยี่ยมชม ศูนย์บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด โรงพยาบาลธนบุรีบูรณา ในเครือบริษัท ธนบุรี เวลบีอิ้ง จำกัด ที่ จ.ปทุมธานี เป็นศูนย์บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบองค์รวมครบวงจรแห่งใหม่ มีสหวิชาชีพและเครือข่ายชุมชน ร่วมบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ ตลอดจนติดตามผลภายหลังการบำบัดเป็นเวลา 3 ปี เพื่อให้ผู้เสพยาไม่กลับไปพึ่งพายาเสพติดอีก และอยู่ร่วมกับสังคมได้

ศูนย์บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบองค์รวมครบวงจรแห่งใหม่นี้ ที่เปิดตัวแนะนำให้เยี่ยมชมครั้งนี้ คือศูนย์บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด โรงพยาบาลธนบุรีบูรณา ในเครือบริษัท ธนบุรี เวลบีอิ้ง จำกัด เลขที่ 89/3 ถนนพหลโยธิน หมู่ที่ 3 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี มีการเปิดแนะนำเยี่ยมชม เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2565 เวลา 10.30 น. โดยมี นพ.บุญ วนาสิน ประธานกรรมการบริษัท ธนบุรี เฮลห์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย น.ส.ณัฐธ์ภัสส์ ยงใจยุทธ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม พล.อ.วัชริศพล มนต์มณีรัตน์ คณะทำงานคณะกรรมการประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานการณ์โควิด-19 พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ รองจเรตำรวจแห่งชาติ (สบ 9) และรอง ผอ.ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู รองประธานคณะกรรมาธิการ การป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน และยาเสพติด สภาผู้แทนราษฎร นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้ร่วมกันเปิดให้เยี่ยมชมศูนย์บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดฯ แห่งนี้ เพื่อให้การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบองค์รวมอย่างมีมาตรฐาน โดยทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อให้ผู้รับการบำบัดกลับไปใช้ชีวิตกับครอบครัวและสังคมได้อย่างปกติสุขโดยไม่พึ่งยาเสพติด

การเปิดแนะนำเยี่ยมชมศูนย์ฯ ครั้งนี้ มีผู้แทนหน่วยงาน กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงยุติธรรม, กรมการปกครอง, กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ, กรมกิจการเด็กและเยาวชน,กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด, ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, สำนักงานประกันสังคม, องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี, ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย และสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน โดยเฉพาะ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปุมธานี ให้ความสนใจนำทีมงานไปเยี่ยมชมด้วยตนเอง และมี พล.ต.ท.ปฏิพัทธ์ สุบรรณ ณ อยุธยา ผอ.ศูนย์ฯ ร่วมนำเยี่ยมชม

นพ.บุญ วนาสิน กล่าวว่า บริษัทฯเปิดตัวศูนย์บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแห่งใหม่ ย่านปทุมธานี มุ่งเน้นการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบองค์รวมอย่างมีมาตรฐาน โดยทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ดี สิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ระบบรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง และการดูแลติดตามผลภายหลังการบำบัด 3 ปี โดยทีม สหวิชาชีพและเครือข่ายชุมชน เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดออกไปใช้ชีวิตร่วมกับสังคมได้อย่างปกติสุข โดยไม่พึ่งยาเสพติด และไม่เสียประวัติ ปัญหายาเสพติดถือเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและเร่งด่วน และหลังจากที่ประมวลกฎหมายยาเสพติดฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นการมอง “ผู้เสพ” คือ “ผู้ป่วย” ที่ต้องได้รับการบำบัดรักษามากกว่าการลงโทษอาญาทางกฎหมาย ด้วยการใช้หลักการสาธารณสุขและสิทธิมนุษยชน เน้นการเข้าถึงการ บำบัดรักษาทางการแพทย์ครอบคลุมทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน

บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้ดำเนินการจัดตั้งสถานพยาบาลยาเสพติด ประเภท สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ในชื่อ “ศูนย์บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด บริษัท ธนบุรี เวลบีอิ้ง จำกัดโดย โรงพยาบาลธนบุรีบูรณา” เพื่อเพิ่มสถานบำบัดรักษาให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้มากขึ้น ศูนย์บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด โดยโรงพยาบาลธนบุรีบูรณา อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นสถานพยาบาลยาเสพติด และสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด แบบผู้ป่วยใน ขนาด 150 เตียง ให้การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยา ทั้งในระบบสมัครใจ และกรณีสมัครใจ ตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 108/2557 แบบองค์รวมอย่างมีมาตรฐาน ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ อาทิ แพทย์ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ นักกิจกรรมบำบัด นักสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น

ทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์พร้อมให้การดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ด้านการบำบัดรักษา เน้นการบำบัดทางการแพทย์ การให้ยาตามอาการ การรักษาภาวะแทรกซ้อน ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย รวมถึงการให้คำปรึกษา การเสริมสร้างแรงจูงใจในการบำบัดรักษา การให้ความรู้ และ ฝึกทักษะที่จำเป็น เช่น การดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค การฝึกทักษะ How to Say No การฝึกคิดเชิงตรรกะ (Logical Thinking) เป็นต้น เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดหยุดเสพสารเสพติดได้จริง ซึ่งถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญ สำหรับการเลิกยาเสพติดได้อย่างถาวร

มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 1744 ครั้ง

You May Also Like

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

แสดง
ซ่อน