ราชทัณฑ์ จับมือ TIJ จัดอบรม NFT Art ศิลปะยุคใหม่ บนโลกออนไลน์ให้ผู้ต้องขัง สร้างอาชีพหลังพ้นโทษ ไม่หวนทำผิดซ้ำ                 

มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 1196 ครั้ง

“ราชทัณฑ์” ร่วมกับ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) จัดอบรม NFT Art ศิลปะยุคใหม่ บนโลกออนไลน์ให้กับผู้ต้องขังเรือนจำกลางชลบุรี สร้างอาชีพภายหลังพ้นโทษ ไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำอีก                         

กรมราชทัณฑ์ ร่วมกับ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) หรือ Thailand Institute of Justice (TIJ) จัดอบรม NFT Art โดยมีศิลปิน NFT ร่วมบรรยาย และมีผู้ต้องขังสนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 40 คน โดยมี นางสาวสุดา สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาผู้ต้องขัง 2 และเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับ ณ เรือนจำกลางชลบุรี อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) หรือ TIJ ร่วมให้การสนับสนุนกรมราชทัณฑ์ โดยจัดอบรม NFT ให้กับผู้ต้องขังเรือนจำกลางชลบุรี โดยนำระบบของ NFT หรือเรียกอีกอย่างว่า Non-Fungible Token (NFT) ซึ่งเป็นชื่อเรียกของเหรียญ (Token) Cryptocurrency ประเภทหนึ่งที่ใช้แทนความเป็นเจ้าของหรือสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ต่างๆ โดยสินทรัพย์ดังกล่าวนั้นจะเป็นอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะดิจิทัล ภาพ เพลง ดนตรี หรือแม้แต่โพสต์บน Twitter ก็ตามในขณะที่ NFT Art เป็นงานศิลปะในรูปแบบไฟล์ดิจิทัลที่ถูกผูกโยงกับ NFT ลักษณะเฉพาะของ NFT Art คือรายละเอียดการซื้อขายงานศิลปะประเภทนี้ (เช่น ผู้ซื้อ ผู้ขาย ราคา) จะถูกบันทึกลงไปในระบบ blockchain ลักษณะพิเศษของระบบกระจายอำนาจในการประมวลข้อมูลนี้ ทำให้ข้อมูลการซื้อขายไม่สามารถถูกแก้ไขหรือถูกลบออกจากระบบได้ การซื้อขายงานศิลปะในรูปแบบใหม่นี้เกิดขึ้นในพื้นที่ ซึ่งผลงานศิลปะไม่สามารถถูกจับต้องได้ (intangible) การซื้อขาย และสะสมเกิดขึ้นผ่าน application หรือ web browser บนหน้าจอดิจิทัลเท่านั้น ซึ่ง NFT (Non-fungible Token) กำลังอยู่ในกระแสความสนใจของนักสร้างสรรค์ทั่วโลก และมีแนวโน้มจะพัฒนาต่อยอดเป็นช่องทางทำเงินใหม่ในตลาดออนไลน์สำหรับศิลปิน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับหลากหลายวงการในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

ซึ่งการจัดอบรมดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ให้กับผู้ต้องขังเป็นอย่างมาก ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ต้องขังกว่า 40 คน ร่วมกิจกรรม โดยมีการบรรยายจากศิลปิน NFT และมีการทำ workshop ด้วยการทดลองวาดรูปและถ่ายทอดเรื่องราวที่เป็นแรงบันดาลใจของผลงานชิ้นนั้น โดยสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) และกลุ่มศิลปิน NFT จะทำการคัดเลือกและซื้อผลงานของผู้ต้องขัง นำมาทำเป็น NFT เพื่อบอกเรื่องราวให้กับบุคคลภายนอกได้รับทราบ และหากมีผู้สนใจซื้อผลงาน จะช่วยเสนอขายให้กับผู้ต้องขังสามารถมีรายได้อีกด้วย

สำหรับการจัดอบรมในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ต้องขังได้ฝึกทักษะที่พวกเขามีอยู่ในด้านงานศิลปะให้ ก้าวเข้าสู่การโพสต์ขายภาพวาดออนไลน์ในโลกโซเชียลมีเดีย ที่สามารถไปได้ไกลมากกว่าการวาดรูปแล้วตั้งขายในรูปแบบเดิมๆ ด้วย NFT Art ซึ่งเป็นงานศิลปะในรูปแบบไฟล์ดิจิทัลที่ถูกผูกโยงกับ NFT เป็นลักษณะเฉพาะของ NFT Art เป็นการฝึกวาดรูปจากจินตนาการและความต้องการของตัวเอง โดยไม่ต้องทำตามคำสั่งหรือคัดลอกจากแบบ ซึ่งจะสามารถใช้จินตนาการได้อย่างเต็มที่ และยังเป็นการฝึกทักษะด้านการนำเสนอผลงานศิลปะให้กับผู้ต้องขัง เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยที่สามารถนำไปประกอบอาชีพภายหลังพ้นโทษได้ โดยไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำอีก 

มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 1196 ครั้ง

You May Also Like

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

แสดง
ซ่อน