“กรมราง” เร่งศึกษาอัตราค่าโดยสารระบบราง ให้ประชาชนเข้าถึงอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม

มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 554 ครั้ง

ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 “โครงการศึกษากำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้า และหลักเกณฑ์การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง” เพื่อการพัฒนาแนวทางการศึกษาและส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งทางราง ให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจในอนาคตพร้อมรองรับปริมาณผู้โดยสารที่มากขึ้นในอนาคต ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม มีความสะดวก ปลอดภัยและรวดเร็ว โดยในการสัมมนามีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสื่อมวลชน และผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาฯ และแสดงข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะร่วมกัน งานดังกล่าวจัดขึ้น ณ ห้องพญาไท 4 ชั้น 6 โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพฯ

ดร.พิเชฐ กล่าวว่า “ระบบขนส่งมวลชนระบบราง เป็นทางเลือกสำคัญในการเดินทางของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เมืองภูมิภาค และการเดินทางระหว่างจังหวัด กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในการศึกษา วิเคราะห์ โครงสร้างต้นทุนระบบราง คำนวณค่าใช้บริการ ค่าใช้จ่ายราง และค่าสัมปทาน ให้เหมาะสม เป็นธรรม รวมทั้งกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการประกอบกิจการขนส่ง ทางราง การให้บริการ อัตราค่าบริการ คุณภาพการให้บริการ มาตรการส่งเสริม ขร. ได้มีการจัดทำร่างพระราชบัญญัติขนส่งทางราง พ.ศ. …. ซึ่งมีหมวดที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดหลักเกณฑ์อัตราค่าโดยสารขั้นสูง และการทบทวนหลักเกณฑ์อัตราค่าโดยสารขั้นสูง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมี โครงการศึกษากำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้า และหลักเกณฑ์การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง มีวัตถุประสงค์ในการกำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้า และหลักเกณฑ์การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง ข้อเสนอมาตรการกำกับอัตราค่าโดยสารของระบบขนส่งมวลชนทางราง มาตรการเพื่อส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทางราง และร่างข้อกำหนด กฎระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้า การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง การส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งทางราง เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนระบบรางได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม สะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว ไม่เป็นภาระต่องบประมาณภาครัฐ”

โครงการดังกล่าวมีกระบวนการศึกษาใช้ระยะเวลา 12 เดือน โดยมีขอบเขตการดำเนินงานแบ่งเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย

1) การศึกษา รวบรวมข้อมูล ผลการศึกษา และการดำเนินงานของโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2) การวิเคราะห์ จัดทำหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้า การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง และการส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทางราง

3) การจัดทำร่างข้อกำหนด กฎระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้า การขึ้นอัตราค่าโดยสาร และการส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทางราง

และ 4) การจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็น ฝึกอบรมทางวิชาการ และเผยแพร่การประชาสัมพันธ์

ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการศึกษาโครงการฯ แล้วเสร็จ จะทำให้มีหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้าและหลักเกณฑ์การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง ร่างข้อกำหนด กฎระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้า การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง การส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งทางราง ซึ่งสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี และมติคณะกรรมการจัดการจราจรทางบก (คจร.) ในการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563 ที่รับทราบแนวทางการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าในระยะยาวเป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างยั่งยืน รวมถึงจะมีมาตรการกำกับอัตราค่าโดยสารของระบบขนส่งมวลชนทางรางมาตรการเพื่อส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทางราง เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนระบบรางได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม สะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว ไม่เป็นภาระต่องบประมาณภาครัฐต่อไป

ดร.พิเชฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า “โครงการนี้จะเป็นส่วนความสำคัญในการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสารที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างยั่งยืนจากปัจจุบันไปสู่อนาคต การกำหนดเงื่อนไขของการเข้าระบบตั๋วร่วมที่ครอบคลุมทุกโครงข่าย และความถูกต้องครบถ้วนของขั้นตอนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นสำคัญ และจะทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยมีปริมาณผู้โดยสารมากขึ้นจากอัตราค่าโดยสารที่เป็นธรรมที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างยั่งยืนจากปัจจุบันไปสู่อนาคต” อธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวทิ้งท้าย

มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 554 ครั้ง

You May Also Like

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

แสดง
ซ่อน