บสย. รับ 2 รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประจำปี 2566

มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 274 ครั้ง

บสย. รับ 2 รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประจำปี 2566 “รางวัลการดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดีเด่น” และ “รางวัลความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาดีเด่น”

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ประธานในพิธีมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิด รัฐวิสาหกิจสร้างสรรค์พลังไทยสู่สากล (Enhancing Thainess Towards Global Opportunities) จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) มอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ให้แก่ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) 2 รางวัล ประเภท “รางวัลการดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดีเด่น” และ “รางวัลความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาดีเด่น” โดย นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เข้ารับรางวัล

“รางวัลการดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดีเด่น” ภายใต้การดำเนินงานชื่อ “ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน บสย. F.A. Center” โดยนำสมรรถนะหลัก (Core Competency) ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้ำประกันสินเชื่อ และนำองค์ความรู้ทางการเงิน มาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้อง ตามมาตรฐานแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพิ่มทักษะวิชาชีพและความรู้ที่นำไปประยุกต์ใช้ได้จริง โดย “ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน บสย. F.A. Center” สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบที่มีต้นทุนทางการเงินต่ำให้ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs รายใหม่มีส่วนผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจเติบโต รวมถึงการจัดการอบรมโครงการ บสย. สร้างชีวิตใหม่ สำหรับผู้ต้องขังที่กำลังพ้นโทษ เพื่อเตรียมความพร้อมในการกลับคืนสู่สังคม โดยนำความสามารถพิเศษขององค์กร (CSR-in-process) ในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านการเงิน (Financial Literacy) สร้างการเชื่อมโยงความช่วยเหลือกับสำนักงานเขต บสย. ในพื้นที่ ให้ผู้พ้นโทษสามารถประกอบอาชีพสุจริตได้อย่างยั่งยืน

รางวัลความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาดีเด่น ในโครงการ “The S1 Project (One SMEs)” ระหว่าง บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM  Bank) ที่มุ่งช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 เพื่อให้ SMEs ได้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ได้บูรณาการความร่วมมือ พัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ (New Business Model) ครอบคลุมด้านบริการลูกค้า การใช้ทรัพยากรและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการพัฒนากระบวนการทำงานร่วมกันสอดรับกับนโยบายภาครัฐ

มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 274 ครั้ง

You May Also Like

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

แสดง
ซ่อน