ร่วมหารือความร่วมมือผลิตแรงงานคุณภาพสูง

มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 254 ครั้ง

สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ขยายเครือข่ายความร่วมมือพัฒนากำลังคนคุณภาพสูง ร่วมกับ กระทรวงแรงงาน และองค์กร IM Japan (International Management Japan) และหอการค้าไทย “ความร่วมมือพัฒนากำลังคนคุณภาพสูง ผู้ร่วมโครงการไม่เสียค่าใช้จ่ายในเดินทาง การอบรมมีความน่าเชื่อถือภายใต้ภาครัฐ มิติใหม่ การทำงานมีรายได้ มีวุฒิ มีอนาคต”

นายอรรถการ ตฤษณารังสี นายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 ดร.พีลิน สกุณา กรรมการสภา ผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันฯ ดร.สุรพงษ์ เอิมอุทัย ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานฯ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ Mr. Komiya Masanobu ผู้จัดการ IM Japan ประเทศญี่ปุ่น Mr.Hedata Tamura ผู้จัดการ IM Japan Thailand พร้อมทีมงาน ร่วมประชุมกับ นายอารี ไกรนารา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานประชุม คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นางสาวศุมาริน จิตนาภรณ์ หัวหน้าฝ่ายจัดส่งไปทำงานประเทศญี่ปุ่น (IM) เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมหารือแนวทางความร่วมมือผลิตแรงงานคุณภาพสู่งสากล ณ ห้องประชุมเทียน อัชกุล ชั้น 10 กรมการจัดหางาน อาคารกระทรวงแรงงาน ประเด็นหารือ ได้แก่ แนวทางความร่วมมือกันเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอาชีพในระดับนานาชาติควบคู่การได้รับวุฒิการศึกษาจากสถาบันการอาชีวศึกษา ด้วยระบบสะสมหน่วยกิต (Credit Bank)

สืบเนื่องด้วยสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 เป็นสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนและการพัฒนาทักษะทางอาชีพให้แก่นักเรียน นักศึกษา ให้พร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานคุณภาพสูง โดยมีหลักสูตรระดับปวช. ปวส. และปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง ซึ่งได้ทำความร่วมมือกับองค์กร IM Japan ที่มีภารกิจมุ่งเน้นการพัฒนาและสนับสนุนเส้นทางอาชีพให้คนไทยในประเทศญี่ปุ่น ภายใต้กระทรวงแรงงาน ซึ่งโครงการความร่วมมือดังกล่าวจะเป็น “ต้นแบบการพัฒนากำลังคนเพื่อตอบโจทย์ในการพัฒนาประเทศต่อไป” และในปี 2567 จากการลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ ณ จังหวัดนครราชสีมาพบว่ามีผู้สมัครได้จำนวน 1,146 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงกว่าเดิม 10 เท่า ดังนั้นประเด็นหารือจึงเป็นเรื่องการบริหารจัดการเพื่อคัดเลือกและการจัดการอบรม หากมีผู้ผ่านการคัดเลือกจำนวนมาก ทาง IM Japan จำดำเนินการบริหารจัดการกับสถานประกอบการ ณ ประเทศญี่ปุ่น แต่ผู้ผ่านการคัดเลือกต้องเป็นไปตามมาตรฐานของประเทศญี่ปุ่น ในส่วนจัดการศึกษานั้นต้องเลือกอาชีพมากำหนดเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนของสถาบันการอาชีวศึกษาและเป็นไปตามความต้องการของสถานประกอบการและความต้องการของผู้เรียนซึ่งปัจจุบันมีอาชีพหลากหลายมาก สถานศึกษาจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงบริบทในการผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อให้มีความสอดคล้องและเหมาะสม ซึ่งจุดเริ่มต้นความสำเร็จต้องเกิดจากความร่วมมือและความจริงจัง จริงใจของทุกภาคส่วน การประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงผู้สนใจทุกกลุ่มและต้องสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของเส้นทางอาชีพ อนาคต และเป้าหมายความสำเร็จ

มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 254 ครั้ง

You May Also Like

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

แสดง
ซ่อน