คณะ กก.กรอบคุณวุฒิฯ ไฟเขียวชงขอจัดตั้ง “สำนักกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ”

มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 1649 ครั้ง

วันนี้ (28 ม.ค.64) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จัดประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติสู่การปฏิบัติ ครั้งที่ 1/2564 โดยมี นายอรรถการ ตฤษณารังสี เป็นประธานการประชุมฯ และคณะอนุกรรมการ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นางศิริพรรณ ชุมนุม รองศาสตราจารย์ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล และนางยุพิน กาญจนวิกัย และนายกวิน เสือสกุล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษา รวมถึงอนุกรรมการฯ จากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ได้แก่ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงาน กพ. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงาน กศน. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) และกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงภาคเอกชน ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ที่ประชุมได้ร่วมกันหารือ และมีมติเห็นชอบในหลักการให้เสนอขอจัดตั้ง “สำนักกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ” เป็นหน่วยงานภายในระดับสำนัก ภายใต้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของประเทศในการดำเนินงานกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) อันจะช่วยส่งเสริมการผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้เป็นกำลังคนคุณภาพ มีสมรรถนะสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับกำลังคนทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา โดยมอบหมายให้เสนอที่ประชุมคณะกรรมการกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ซึ่งจะประชุมในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2564 พิจารณา ต่อไป

นอกจากนั้น ยังได้ร่วมกันหารือถึงแนวทางการดำเนินงานทบทวนกฎหมาย ตลอดจนกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ โดยในระยะเร่งด่วน เห็นควรให้เร่งเสนอจัดทำประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติสู่การปฏิบัติ และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรม และในส่วนของการประชาสัมพันธ์ ควรมีการจัดทำกลยุทธ์การสื่อสารกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ และเร่งจัดทำเนื้อหาให้มีความน่าสนใจในรูปแบบ Infographic เพื่อให้เข้าถึง stakeholder ทุกภาคส่วน ผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยในระยะแรกให้ดำเนินการจัดทำ NQF’s website และให้ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันเผยแพร่ผ่านช่องทางของแต่ละหน่วยงาน อีกทั้ง ควรมีการจัดทำข้อเสนอในการจูงใจภาคเอกชนในการได้รับสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น เพื่อดึงดูดให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ

มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 1649 ครั้ง

You May Also Like

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

แสดง
ซ่อน