มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 8145 ครั้ง
พล.ร.อ.สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ในฐานะ นายกสมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศการแข่งขันเรือใบชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประจำปี 2565 ณ ศูนย์สมุทรกีฬา อ่าวดงตาล อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
การแข่งขันเรือชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย หรือ Thailand Sailing Championship 2022 กองทัพเรือ ร่วมกับ สมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้กำหนดจัดขึ้นในระหว่าง วันที่ 18-24 เมษายน 2565 เพื่อเป็นการเผยแพร่พระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถในกีฬาเรือใบ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสนองพระราชปณิธานในการเผยแพร่กีฬาเรือใบให้เป็นที่แพร่หลายในหมู่ประชาชนและเยาวชนของชาติ อันจะปลูกฝังให้เยาวชนไทยเติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพโดยอาศัยกีฬาเรือใบเป็นสื่อ ดังพระราชดำรัสของพระองค์ท่าน เกี่ยวกับกีฬาเรือใบ ตอนหนึ่งที่ว่า “การแล่นใบสอนให้คนคิดเองทำเอง” จนเป็นที่มาของคำกล่าวที่ว่า “เด็กไทยแล่นใบเป็น เด็กไทยใช้ชีวิตเป็น”
โดยในปีนี้ มีนักกีฬาเรือใบให้ความสนใจเข้าร่วมการแข่งขันจากสโมสรสมาชิกต่าง ๆ ของสมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย จำนวน 7 สโมสร นักกีฬาเรือใบจากต่างประเทศ ประกอบด้วย สมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย สโมสรเรือใบราชวรุณ สโมสรเรือใบทัพเรือภาคที่ 2 สโมสรเรือใบทัพเรือภาคที่ 3 สโมสรเรือใบหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สโมสรเรือใบจังหวัดตราด สโมสรเรือใบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมถึงนักกีฬาเรือใบจากประเทศมาเลเซีย และสิงค์โปร์ ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน ประเทศละ 7 คน ทั้งนี้ เรือใบประเภทออฟติมิส มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมการแข่งขันมากที่สุด ถึง 119 คน โดยส่วนใหญ่เป็นนักกีฬาเยาวชน อายุไม่เกิน 15 ปี และนักกีฬาอายุน้อยที่สุดในการแข่งขันครั้งนี้ มีอายุเพียง 7 ปี
ในส่วนของการจัดการแข่งขันเรือใบทางไกลข้ามอ่าวไทย ทำการแข่งขันในวันที่ 19 เมษายน 2565 ในโอกาสครบรอบ 56 ปี ที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเรือใบประเภทโอเค ที่ทรงต่อขึ้นเองพระราชทานชื่อเรือว่า “เวคา” เสด็จข้ามอ่าวไทย เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2509 ระยะทางประมาณ 60 ไมล์ทะเลจากพระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปขึ้นฝั่งที่หาดเตยงาม หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินโดยลำพังด้วยพระองค์เอง ทรงใช้เวลาในการแล่นใบถึง 17 ชั่วโมงเต็ม และได้ทรงนำธงราชนาวิกโยธิน ที่ทรงนำข้ามอ่าวไทยมาด้วย ปักเหนือยอดก้อนหินใหญ่ที่ชายหาดของอ่าวนาวิกโยธิน นำมาซึ่งความปลื้มปีติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ซึ่งในการต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหาง เรือเวคา เพื่อเป็นรางวัลนิรันดรในการแข่งขันเรือใบระยะทางไกลของประเทศไทย โดยทำการแข่งขันจาก อำเภอชะอำจังหวัดเพชรบุรี มายังหาดเตยงาม อ่าวนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ได้รับความสนใจจากนักกีฬาเรือใบจากสโมสรและชมรม เดินทางมาร่วมการแข่งขัน มีเรือใบเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 40 ลำ นักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 112 คน ผลการแข่งขัน มีดังนี้
1. เรือใบ Open keelboat อันดับ 3 ได้แก่ สโมสรเรือใบหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง, อันดับ 2 ได้แก่ สโมสรเรือใบ โรงเรียนนายเรือ, ชนะเลิศ ได้แก่ สมาคมสโมสรเรือใบราชวรุณ ในพระบรมราชูปถัมภ์
2. เรือใบ Phatu อันดับ 3 ได้แก่ สโมสรเรือใบฐานทัพเรือสัตหีบ, อันดับ 2 ได้แก่ สโมสรเรือใบ ปตท.สผ., ชนะเลิศ ได้แก่ สโมสรเรือราชนาวี
3. เรือใบ Hobie 16 อันดับ 3 ได้แก่ จ่าเอก ประกาศิต หงษ์ประดับ / นายธนากร ศิริศักดิ์, อันดับ 2 ได้แก่ นางสาวปุณยาพร จันทร์ยิ้ม / นายสันติภาพ จิตสวัสดิรักษา, ชนะเลิศ ได้แก่ พันจ่าเอก ธีรพงษ์ วาติบุญเรือง / นางสาวศิริวิมล หารินทชาติ
4. เรือใบ OK dinghy อันดับ 3 ได้แก่ จ่าเอก วิรัตน์ จั่นธรรม, อันดับ 2 ได้แก่ จ่าเอก กีระติ บัวลง, ชนะเลิศ ได้แก่ เรือโท มานัส โพธิ์ทอง
5. เรือใบ 420 Open อันดับ 3 ได้แก่ นายธนากร แมรฟิลเดอะ / ด.ญ.สรัญพร อ๋องเอื้อ, อันดับ 2 ได้แก่ นายบุนยะมิน คล่องสมุทร / Mr.Vinto schmid, ชนะเลิศ ได้แก่ น.ส.ชาลิสา กฤตนัย / นายจักรภัทร วิริยะกิตติ
โดยผู้ชนะเลิศการแข่งขันเรือใบทางไกล ได้ครองรางวัล หางเสือเรือพระที่นั่ง “เวคา” (จำลอง) พร้อมจารึกชื่อเพื่อเป็นเกียรติประวัติบนหางเสือเรือพระที่นั่งเวคา ได้แก่ เรือใบประเภท Keelboat แบบ TP52 จากสโมสรเรือใบราชวรุณ
สำหรับการแข่งขัน เรือใบชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประจำปี 2565 ทำการแข่งขันระหว่างวันที่ 20 ถึง 23 เมษายน 2565 แบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 สนาม ได้แก่ สนาม A มีเรือใบเข้าร่วมการแข่งขัน 3 ประเภท ประกอบด้วย เรือใบประเภท Optimist เรือใบประเภท OK และเรือใบประเภท ILCA 7 ในส่วนของ สนาม B มีเรือใบเข้าร่วมการแข่งขัน 5 ประเภท ประกอบด้วย เรือใบประเภท ILCA4 เรือใบประเภท ILCA6 เรือใบประเภท Hobie เรือใบประเภท 420 และเรือใบประเภท 470 รวมเรือใบที่เข้าร่วมแข่งขันทั้ง 2 สนาม จำนวนทั้งสิ้น 191 ลำ มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวนทั้งสิ้น 207 คน ทำการแข่งขันจำนวน 3 วัน วันละ 3 เที่ยว รวม 9 เที่ยว ผลการแข่งขัน มีดังนี้
1. เรือใบออฟติมิส อายุต่ำกว่า 10 ปี อันดับ 3 ได้แก่ ด.ช.วินเซนต์ วอลเทอร์ กินท์เซลล์ โอเชี่ยนมารีน่า ยอร์ชคลับ, อันดับ 2 ได้แก่ ด.ญ.นิรดา ศศิวัฒนพร สมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศ, ชนะเลิศ ได้แก่ ด.ช.โรเบริต นาซารอฟ สมาคมสโมสรราชวรุณ
2. เรือใบออฟติมิส อายุต่ำกว่า 12 ปี อันดับ 3 ได้แก่ ด.ช.ศรวิชญ์ นาคสุข สมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทยฯ, อันดับ 2 ได้แก่ ด.ช.ภาณุเดช ผลพูล สมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทยฯ, ชนะเลิศ ได้แก่ ด.ญ.สุรภา ม่วงงาม สมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทยฯ
3. เรือใบออฟติมิส กลุ่ม B อันดับ 3 ได้แก่ ด.ญ.ฐิติวรดา จอนใจตรง สโมสรเรือใบหน่วยบัญชาการต่อสู้, อันดับ 2 ได้แก่ ด.ญธนาภา พงษ์กำเนิด สมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย, ชนะเลิศ ได้แก่ ด.ช.เอื้ออังกูล จัดสนาม สโมสรแล่นใบตราด
4. เรือใบออฟติมิส ทั่วไป หญิง อันดับ 3 ได้แก่ ด.ญ.ไพริน เจริญผล สมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทยฯ, อันดับ 2 ได้แก่ ด.ญ.พัชรพรรณ องคะลอย สมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่ง, ชนะเลิศ ได้แก่ ด.ญ.ประกัสสร แก้วพรม สมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศ
5. เรือใบออฟติมิส ทั่วไป อันดับ 3 ได้แก่ ด.ญ.ประภัสสร แก้วพรม สมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศ, อันดับ 2 ได้แก่ หม่อมหลวง เวฆา ภานุพันธ์ สมาคมสโมสรราชวรุณ, ชนะเลิศ ได้แก่ ด.ช.ชนาธิป ทองกล่ำ และเป็นแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2565 จากสโมสรเรือใบราชวรุณ
6. เรือใบ ILCA 4 อายุต่ำกว่า 15 ปี อันดับ 3 ได้แก่ ด.ช.ปิยทัศน์ จิตสุวรรณธรรมวัฒน์ สมาคมเรือใบแห่งประเทศไทย, อันดับ 2 ได้แก่ ด.ช.ราเชน แอนโทนี ไมน์ สมาคมสโมสรราชวรุณ, ชนะเลิศ ได้แก่ ด.ช.ธรรม์ รัตนะ สมาคมสโมสรราชวรุณ
7. เรือใบ ILCA 4 หญิง อันดับ 3 ได้แก่ Miss Nadine Sng สโมสร Singapore Sailing Federation, อันดับ 2 ได้แก่ น.ส.นพภัสสร ขุนบุญจันทร์ สมาคมเรือใบแห่งประเทศไทย, ชนะเลิศ ได้แก่ น.ส.ทอฝัน บุนนาค สมาคมเรือใบแห่งประเทศไทย
8. เรือใบ ILCA 4 ทั่วไป อันดับ 3 ได้แก่ น.ส.ทอฝัน บุนนาค สมาคมเรือใบแห่งประเทศไทย, อันดับ 2 ได้แก่ นายบวรนันท์ ชันรัมย์ สมาคมเรือใบแห่งประเทศไทย, ชนะเลิศ ได้แก่ นายกัณฑ์ คชาชื่น สมาคมเรือใบแห่งประเทศไทย
9. เรือใบ ILCA 6 หญิง อันดับ 3 ได้แก่ น.ส.พุทธรักษา อิ้มรักษา สมาคมเรือใบแห่งประเทศไทย, อันดับ 2 ได้แก่ นางสาวพัชรี ศรีงาม สมาคมเรือใบแห่งประเทศไทย, ชนะเลิศ ได้แก่ Miss Nur Alia Amera Mohamad Latif สโมสร Malaysia Sailing Association
10. เรือใบ ILCA 6 ทั่วไป อันดับ 3 ได้แก่ น.ส.พุทธรักษา อิ้มรักษา สมาคมเรือใบแห่งประเทศไทย, อันดับ 2 ได้แก่ นางสาวพัชรี ศรีงาม สมาคมเรือใบแห่งประเทศไทย, ชนะเลิศ ได้แก่ Miss Nur Alia Amera Mohamad Latif สโมสร Malaysia Sailing Association
11. เรือใบ ILCA 7 ทั่วไป อันดับ 3 ได้แก่ Mr. RICHARD VINE สโมสร Sailing Club Hua Hin, อันดับ 2 ได้แก่ นายนิติพัฒน์ ไชยวุฒิเวทย์ สโมสรเรือใบกองเรือยุทธการ, ชนะเลิศ ได้แก่ Mr.คริสโตเฟอร์ ศรุต มาร์ช สมาคมสโมสรราชวรุณ
12. เรือใบ Hobie 16 อันดับ 3 ได้แก่ จ่าเอก ประกาศิต หงส์ประดับ / นายธนากร ศิริศักดิ์, อันดับ 2 ได้แก่ Mr.โรเบิร์ต เฮนรี่ / Mr.Manito Henry, ชนะเลิศ ได้แก่ พันจ่าเอก ธีรพงษ์ วาติบุญเรือง / น.ส.ศิรีวิมล หารินทชาติ
13. เรือใบ 420 Open อันดับ 3 ได้แก่ นายชาตรี มากมูล / นายกันตพงษ์ พุ่มเล่ง, อันดับ 2 ได้แก่ นายบุนยะมิน คล่องสมุทร / Mr.Vinto schmid, ชนะเลิศ ได้แก่ น.ส.ชาลิสา กฤตนัย / นายจักรภัทร วิริยะกิตติ
14. เรือใบ 470 Mix อันดับ 3 ได้แก่ น.ส.ญาดา หาทรัพย์ / นายนฤเศรษฐ์ พันนา, อันดับ 2 ได้แก่ นายสุธน แย้มพินิจ / น.ส.นิชาภา ไหวไว, ชนะเลิศ ได้แก่ จ่าโท นาวี ธรรมสุนทร / น.ส.ปริยาพร กะลา
15. เรือใบ OK dinghy อันดับ 3 ได้แก่ พลเรือเอก ธานินทร์ ลิขิตวงศ์, อันดับ 2 ได้แก่ จ่าเอก ธนกานต์ ก่อเกิด, ชนะเลิศ ได้แก่ Mr. มอร์เต็น ยาคอบเซ่น
มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 8145 ครั้ง