“เฉลิมชัย” ประกาศนโยบายพัฒนาสหกรณ์ ปี’66 ชูเทคโนโลยี-ตลาดนำการผลิต

มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 620 ครั้ง

“เฉลิมชัย” ประกาศนโยบายพัฒนาสหกรณ์ ปี 2566 ชูยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตและเทคโนโลยีเกษตร ยึดหลักธรรมาภิบาลบริหารโปร่งใสเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบให้ที่ปรึกษารัฐมนตรีฯ นายอลงกรณ์ พลบุตร เป็นผู้แทนในการมอบนโยบายการปฏิบัติราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้แก่ข้าราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ในห้องประชุม 200 คน ผ่านระบบทางไกลไปทุกจังหวัดอีก 1,520 คน โดยมี นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรฯ นายวิศิษฏ์ ศรีสุวรรณ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นางสาวอัญมณี ถิรสุทธิ์ รองอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ให้การต้อนรับ

นายอลงกรณ์ ได้แถลงนโยบายว่า เพื่อขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลด้านการเกษตรและขับเคลื่อนงานสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการเกษตร มีเป้าหมายในการพัฒนาให้ “เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้เพิ่มขึ้น” โดยมุ่งเน้นให้ “เกษตรกรรวมกลุ่มกันช่วยเหลือ ตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบของการสหกรณ์” สร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรของ ชุมชนโดยส่งเสริมให้นำแนวทาง “การตลาดนำการผลิต การส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และ การนำเทคโนโลยีการเกษตรมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิต” เพื่อลดต้นทุน ลดค่าใช้จ่าย สร้าง รายได้ให้แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งสร้างระบบการเงินการบัญชีที่มีเกณฑ์การตรวจสอบบัญชี ตามมาตรฐานสากลเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ให้แก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรนำไปใช้ปฏิบัติมีการ กำหนดเกณฑ์การควบคุมภายในที่ดี การควบคุมและดูแลการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส เพื่อสร้าง ความเชื่อมั่นให้สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร

ทั้งนี้ในปี 2565 สหกรณ์ทุกประเภทมีทุนดำเนินงานรวมกันเป็นเงินกว่า 1.785 ล้านล้านบาท และมีมูลค่าธุรกิจทุกประเภทรวมกันกว่า 3.58 ล้านล้านบาท มีสถาบันเกษตรกรจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ จำนวน 7,690 สหกรณ์ และกลุ่ม เกษตรกร จำนวน 4,110 แห่ง จำนวนสมาชิกรวมทั้งสิ้นกว่า 12 ล้านคน

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงมอบนโยบายการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ2566 ดังนี้

1. นโยบายด้านการส่งเสริมพัฒนาและการกำกับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร

1) ผลักดันให้ สมาชิก มีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจกับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมากขึ้น

2) เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรด้วยนโยบาย “การตลาดนำการผลิต” “เทคโนโลยีเกษตร 4.0” และ “การส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่” ไปเป็นเข็มทิศในการทำงาน

3) การบริหารองค์กรด้วยหลักธรรมาภิบาล กรมส่งเสริมสหกรณ์ต้องร่วมมือกับกรมตรวจบัญชีสหกรณ์อย่างใกล้ชิด กำกับดูแล แนะนำ และการสร้างระบบบัญชีที่มีมาตรฐาน ลงพื้นที่เข้าตรวจการสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทุกแห่ง เข้าแนะนำ ตรวจสอบให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรปิดบัญชีได้ตามกฎหมาย สร้างความโปร่งใสในการ บริหารงานของคณะกรรมการดำเนินการและฝ่ายจัดการ สร้างระบบควบคุมภายใน ระบบบริหาร จัดการความเสี่ยงและระบบตรวจสอบที่ดี ทำให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรปลอดการทุจริตให้มากที่สุด

4) การแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เมื่อตรวจพบสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีการทุจริตหรือข้อบกพร่อง กรมส่งเสริมสหกรณ์ ต้องรีบเข้าดำเนินการกำกับ สั่งการให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรแก้ไขข้อบกพร่องตามกฎหมายและ ขั้นตอนที่ได้รับมอบอำนาจอย่างมีประสิทธิภาพและแล้วเสร็จโดยเร็ว

2. นโยบายด้านการตรวจสอบทางการเงินและการบัญชี

1) พัฒนาระบบการตรวจสอบบัญชี เน้นการตรวจสอบให้เป็นไปตาม มาตรฐานวิชาชีพ โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการตรวจสอบเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ทันต่อ สถานการณ์ ยึดความถูกต้องในการทำงานไม่ต้องกังวล ในกรณีเกิดสถานการณ์ทุจริตให้เร่งดำเนินการ เชิงรุกในการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นโดยสะดวกรวดเร็วและลดต้นทุนในการให้บริการสมาชิกส่งเสริมการออมในชุมชนนอกเหนือการให้กู้ยืม

2) เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจรับฝากเงิน ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ธุรกิจรวบรวมผลผลิต ธุรกิจการแปรรูปและธุรกิจบริการ จะช่วยให้สหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง ส่งผลให้เกษตรกรสมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้เพิ่มขึ้น แก้ไขปัญหา การประกอบอาชีพในชุมชนได้อย่างยั่งยืน

3) การบริหารองค์กรด้วยหลักธรรมาภิบาล กรมส่งเสริมสหกรณ์ต้องร่วมมือกับกรมตรวจบัญชีสหกรณ์อย่างใกล้ชิด กำกับดูแล แนะนำ และการสร้างระบบบัญชีที่มีมาตรฐาน ลงพื้นที่เข้าตรวจการสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทุกแห่ง เข้าแนะนำ ตรวจสอบให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรปิดบัญชีได้ตามกฎหมาย สร้างความโปร่งใสในการบริหารงานของคณะกรรมการดำเนินการและฝ่ายจัดการ สร้างระบบควบคุมภายใน ระบบบริหาร จัดการความเสี่ยงและระบบตรวจสอบที่ดี ทำให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรปลอดการทุจริตให้มากที่สุด

4) การแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร

3. นโยบายด้านการตรวจสอบทางการเงินและการบัญชี

1) พัฒนาระบบการตรวจสอบบัญชี การตรวจสอบบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรถือเป็นงานที่สำคัญที่ช่วยสร้างความโปร่งใส ให้แก่สถาบันสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ควรเน้นการตรวจสอบให้เป็นไปตาม มาตรฐานวิชาชีพ โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการตรวจสอบ ในกรณีเกิดสถานการณ์ทุจริตให้เร่งดำเนินการ เชิงรุกในการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยอาจจัดทำเป็นทีมตรวจสอบ เฉพาะกิจและร่วมแก้ไขปัญหากับกรมส่งเสริมสหกรณ์

2) ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลและตรวจสอบคุณภาพการสอบบัญชีสหกรณ์กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ต้องมุ่งเน้นตรวจสอบคุณภาพงานของผู้สอบบัญชีให้เข้มข้น เป็นไป ตามมาตรฐานและข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณ ในกรณีผู้สอบบัญชีปฏิบัติไม่เป็นไปตามมาตรฐาน หรือ ปฏิบัติงานบกพร่องให้ลงโทษอย่างจริงจัง

3) พัฒนาความสามารถด้านการเงินการบัญชี และการควบคุมภายในแก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และเกษตรกรเนื่องจากบัญชีเป็นผลลัพธ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของทุกอาชีพ

4) มุ่งพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีด้านการบัญชีเพื่อให้บริการแก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร

สุดท้ายนี้ หวังว่าบุคลากรของกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทุกคน จะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆ ของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และร่วมกันผลักดันให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง มีคุณภาพ เป็นที่พึ่งของเกษตรกรและชุมชนได้อย่างยั่งยืนตลอดไป

มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 620 ครั้ง

You May Also Like

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

แสดง
ซ่อน