คะตะลิสต์จุดประกาย “อาหารยั่งยืน” สนับสนุนบริโภคไข่ไก่ที่เลี้ยงแบบไม่ขังกรง แทนไข่ไก่จากกรงตับ

มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 780 ครั้ง

คะตะลิสต์ (Catalyst) องค์กรวิสาหกิจเพื่อสังคมจุดประกายสร้างผู้นำธุรกิจรุ่นใหม่ที่ต้องการเปลี่ยนโลกด้วยระบบอาหารที่ยั่งยืน (sustainable food) รุดเดินหน้าชวนธุรกิจฟาร์มเลี้ยงและธุรกิจด้านอาหารและโรงแรมให้หันมาใช้ไข่ไก่ที่เลี้ยงแบบไม่ขังกรง ซึ่งจะดีต่อสุขภาพคน สัตว์และสิ่งแวดล้อม

วันนี้หลายประเทศทั่วโลกได้หันมาบริโภค “ไข่ไก่จากการเลี้ยงแบบไม่ขังกรง (cage-freeegg) และแบบอิสระ (free-rangeegg)” ให้แม่ไก่ได้เติบโตอย่างมีความสุขตามธรรมชาติ ไม่ต้องเครียดเพราะติดอยู่ในกรงแคบๆ ตลอดชีวิต ซึ่งอาจนำไปสู่ความเจ็บป่วยของแม่ไก่ การใช้ยาปฏิชีวนะแบบหว่าน (antibioticprophylaxis) ที่สัมพันธ์กับปัญหาเชื้อดื้อยาที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของโลก

นายแพทย์วัชระ พุ่มประดิษฐ์ ผู้ก่อต้ังบริษัท คะตะลิสต์ จำกัด องค์กรนานาชาติที่ทำงานภายใต้แนวคิด วิสาหกิจเพื่อสังคม (international social enterprise) กล่าวว่า “การส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ เช่น โครงการ ไข่ไก่ไร้กรง (CagefreeEggs)” มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรม ฟาร์ม เกษตรผู้เลี้ยงไก่ในการยกระดับคุณภาพ มาตรฐาน เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ที่ตอบรับกับ กระแสของผู้บริโภคและกระแสโลกที่ให้ความสาคัญกับเรื่องความยั่งยืน (sustainability) และสวัสดิภาพสัตว์ (animal welfare) นอกจากนั้น ยังได้ดำเนินงานร่วมกับจังหวัดที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้อาหารยั่งยืน (sustainable food) สอดคล้องกับท่องเที่ยวยั่งยืน (sustainable tourism) สมกับคำว่า World Class Destination ของเมืองไทยอย่างแท้จริง”

คะตะลิสต์ จึงเดินหน้าสนับสนุนทางด้านวิชาการเพื่อยกระดับขีดความสามารถให้แก่ฟาร์มและ เกษตรกรพร้อมทั้งการช่วยสร้างตลาดให้กับไข่ไก่ที่เลี้ยงโดยไม่ขังกรง ด้วยการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการทั่วประเทศไทย หันมาใช้ไข่ไก่ที่เลี้ยงแบบไมขังกรง โดยเตรียมจัดงาน พิธีมอบโล่รางวัลแก่ธุรกิจผู้นำในด้าน อาหารยั่งยืน ที่ได้ประกาศพันธะสัญญาในการเปลี่ยนมาบริโภคหรือจำหน่ายไข่ไก่ที่เลี้ยงแบบไม่ขังกรง (cage-freeegg) คร้ังที่ 1” เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ประกอบการที่เป็นตัวอย่างที่ดีของประเทศไทยและของโลก ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องประชุมอมรินทร์ สถาบันอาหาร สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม (National Food Institute, Ministry of Industry)

การผลิตอาหารในยุคปัจจุบัน เราควรคำนึงถึงสวัสดิภาพและจริยธรรมในการปฏิบัติต่อสัตว์ เพราะทุกสิ่งที่เราทำจะย้อนกลับมาสู่ตัวเราเอง อันเป็นแนวคิดในการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ของคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม หรือ One Health, One Welfare, One Planet

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการการไข่ไก่ที่เลี้ยงแบบไม่ขังกรง สามารถติดต่อได้ที่ คุณณิชามน แสงเดือน (098-156-3269)

มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 780 ครั้ง

You May Also Like

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

แสดง
ซ่อน