ร่างกฎหมาย “อากาศสะอาดฯ” กำลังจะเข้าสภาฯ

มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 190 ครั้ง

น.ต.วรวิทย์ เตชะสุภากูร ร.น. อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ และอนุ กมธ.การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนฯ ได้โพสต์แชร์ข้อสังเกตและสรุปประเด็นของร่างฯ ลองตามกันดูว่า มีอะไรน่าสนใจบ้าง

พี่วิทย์ขอร่วมแชร์ข้อสังเกต 2 ข้อใหญ่ดังนี้ (ขอยาวนิดนึงครับ)

1. การมี กม.มีกระบวนการทางศาล ก็ดี เพราะเป็นหลักประกัน ที่มั่นคงถาวร แต่ในความเป็นจริงกระบวนพิจารณาคดีในชั้นศาล มีหลายขั้นตอน ใช้เวลามาก ทั้งยังเป็นการแก้เมื่อปัญหาเกิดแล้ว

ดังนั้น กม.รอง จึง ออกมาให้เร็วและทัน การณ์ คำนึงถึงการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุมากขึ้น เน้นการป้องกันก่อนปัญหาจะเกิด มากกว่าจะลงโทษเมื่อเกิดทำผิดแล้ว

2. แม้ว่าร่างกฏหมายนี้ จะเข้าการพิจารณาของรัฐสภาในเร็ว ๆ แต่การเผาป่า นาข้าว ไร่ข้าวโพด ได้เริ่มเกิดฝุ่นแล้ว ปีนี้ก็แล้งจากปรากฏการณ์เอลนิญโญ่ ป่าจะแห้ง ใบไม้และทุ่งหญ้าจะเยอะ เป็นเชื้อเพลิงอย่างดี

การทำความเข้าใจเหตุที่ทำให้เกิดการเผาในที่ดินการเกษตรและพื้นที่ป่าไม้ คงต้องเร่งใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในการป้องกัน หรืออย่างน้อยก็ลดการจุดเผาลงให้ได้มากที่สุด

เพิ่มแนวใหม่ คือการใช้ข้อมูลและความรู้ การวิเคราะห์จากข้อมูลดาวเทียม จะช่วยให้รู้ทิศทางลม เเละจุดที่ตั้งการเริ่มเผา โดยดูจากสถิติที่ดาวเทียมที่บันทึกไว้มาตลอด20ปีย้อนหลัง

ต่อยอดอีกด้วยเราทุกภาคส่วนควรสื่อสารร่วมกับรัฐไปยังผู้ประกอบการนำเข้าเมล็ดข้าวโพดและอ้อยที่มาจากประเทศข้างเคียง  ให้เร่งใช้มาตรการตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อ ไม่รับซื้อผลผลิตที่มาจากพื้นที่เผา เพราะหลายปีแล้ว จุดความร้อนในไทยลดลง แต่ในประเทศเพื่อนบ้าน ยังพบจุดความร้อนเพิ่มขึ้น

สุดท้ายถ้าเพื่อน ๆ อยากรู้ว่า ร่างกฎหมายนี้ เขียนว่าอย่างไรบ้าง อ่านต่ออีกนิดครับ

สาระสำคัญ คือ

1. มีคณะกรรมการเพื่อการจัดการอากาศสะอาด ในระดับต่าง ๆ ดังนี้

1.1 คกก.นโยบายอากาศสะอาด ซึ่งมี นายกฯ เป็นประธาน ทำการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย

1.2 คกก.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด มี รมว. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน เพื่อขับเคลื่อนเชิงวิชาการ

1.3 คกก.อากาศสะอาดจังหวัด มีผู้ว่าฯจังหวัดเป็นประธานและ คกก. อากาศสะอาดพื้นที่เฉพาะ  ซึ่งจะแต่งตั้งเมื่อมีสถานการณ์และระดับมลพิษทางอากาศในพื้นที่ใดเป็นการเฉพาะไปจัดการเชิงพื้นที่

2. กำหนดระบบการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดของประเทศ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีมาตรฐานคุณภาพอากาศสะอาด ระบบเฝ้าระวังเพื่อคุณภาพอากาศสะอาด ระบบฐานข้อมูลคุณภาพอากาศแห่งชาติ กรอบแนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการ และแผนปฏิบัติการการพัฒนาคุณภาพอากาศ

3. มาตรการการลดและควบคุมมลพิษทางอากาศ จากแหล่งกำเนิด 4 ประเภท

3.1 แหล่งฯสถานที่ถาวร

3.2 แหล่งฯเผาในที่โล่ง

3.3 แหล่งฯจากยานพาหนะ

3.4 แหล่งฯมลพิษข้ามแดน

4. กำหนดเขตเฝ้าระวังและเขตประสบมลพิษทางอากาศ เมื่อมีสถานการณ์พิเศษ

5. กำหนดเครื่องมือและมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ เช่น ภาษีอากาศสะอาด ค่าธรรมเนียมการจัดการมลพิษ การกำหนดและโอนสิทธิในการระบายมลพิษทางอากาศ การประกันความเสี่ยง และมาตรการอุดหนุน สนับสนุน หรือส่งเสริมบุคคลหรือกิจกรรมสำหรับอากาศสะอาด

6. ความรับผิดทางแพ่งและบทกำหนดโทษต่าง ๆ

ติดตามความคืบหน้ากันต่อไป..ขอบคุณมาก..ที่อ่านมาถึงตรงนี้ครับ

มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 190 ครั้ง

You May Also Like

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

แสดง
ซ่อน