มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 272 ครั้ง
เมื่อวันที่ 29 ก.พ.67 ที่ห้อง Conference Room สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ร่วมกับ สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมเพื่อการป้องกันการทรมาน (APT) และสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) จัดการเสวนาเนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปี ของการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 โครงการขับเคลื่อนนโยบาย กสม. ประเด็นสิทธิในกระบวนการยุติธรรม หัวข้อ “1 ปี พ.ร.บ. ซ้อมทรมานฯ ข้อท้าทายและความคาดหวัง”
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กรภาคประชาสังคมและหน่วยงานของรัฐ ในการขับเคลื่อนการบังคับใช้ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
ในการนี้ นางสาวพรประไพ กาญจนรินทร์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุชาติ เศรษฐมาลินี นางสาวปิติกาญจน์ สิทธิเดช และ นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พร้อมด้วย นายพิทักษ์พล บุณยมาลิก เลขาธิการ กสม. นายชนินทร์ เกตุปราชญ์ รองเลขาธิการ กสม. ผู้บริหารสำนักงาน กสม. นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรสิทธิมนุษยชนสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปสม.) รุ่นที่ 1-2-3 สถาบันพระปกเกล้า ข้าราชการตำรวจ เข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความเห็นด้วย
สำหรับกิจกรรมช่วงเช้า มีการกล่าวเปิดการเสวนาโดย ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ หม่อมหลวงศุภกิตต์ จรูญโรจน์ เลขาธิการสถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด จากนั้น มีการเสวนาหัวข้อ “1 ปี กับการบังคับใช้ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมาน ฯ” โดยวิทยากรประกอบด้วย (1) นายสุริยน ประภาสะวัต อัยการพิเศษฝ่ายการสอบสวน 1 สำนักงานการสอบสวน สำนักงานอัยการสูงสุด (2) นายรัฐวิช จิตสุจริตวงศ์ ผู้อำนวยการส่วนการสอบสวนคดีอาญา กรมการปกครอง (3) พ.ต.อ.วีร์พล ใหญ่อรุณ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักกฎหมายและคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (4) นางสาวนรีลักษณ์ แพไชยภูมิ ผู้อำนวยการกองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม และ (5) นายอังศุเกติ์ วิสุทธิ์วัฒนศักดิ์ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดำเนินรายการโดย นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ต่อมามีการเสวนาหัวข้อ “ข้อท้าทายและความคาดหวังต่อผู้บังคับใช้กฎหมาย” โดย (1) นายสมชาย หอมลออ ทนายความและผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิทธิมนุษยชน (2) นางสาวปิติกาญจน์ สิทธิเดช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (3) หม่อมหลวงศุภกิตต์ จรูญโรจน์ เลขาธิการสถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด และ (4) นางสาวนริศราวัลถ์ แก้วนพรัตน์ (ผู้เสียหายจากคดีทรมาน กรณีพลทหารวิเชียร เผือกสม) ดำเนินรายการ โดย นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ช่วงบ่าย มีการกล่าวสุนทรพจน์ภาคภาษาอังกฤษ โดยเยาวชนผู้ชนะการประกวดโครงการ Safe in Custody และการเสวนาวิชาการหัวข้อ “ก้าวต่อไปกับการป้องกันการทรมาน” ซึ่งเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับ (1) สิ่งที่อยากเห็นและความคาดหวังต่อการป้องกันการทรมาน โดย นายอัรฟาน ดอเลาะ รองประธานสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย (2) สะท้อนปัญหาการซ้อมทรมาน : สู่แนวทางการป้องกัน โดย นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (3) การเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (OPCAT) : ประโยชน์และข้อท้าทาย โดย ผศ.ดร.รณกรณ์ บุญมี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (4) กสม. กับงานด้านการตรวจเยี่ยมและทิศทางในอนาคต โดย นายชนินทร์ เกตุปราชญ์ รองเลขาธิการ กสม. ดำเนินรายการ โดย นายชนินทร์ เกตุปราชญ์ รองเลขาธิการ กสม.
มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 272 ครั้ง