มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 300 ครั้ง
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 พ.ศ. 2566-2570 (ปรับปรุง 2567) และจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
นายอรรถการ ตฤษณารังสี นายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 เป็นประธานเปิดโครงการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 พ.ศ. 2566-2570 (ปรับปรุง 2567) และจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมีวิทยกรผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดทำแผน นายสันติ เลิศไกร ประธานอนุกรรมการสภาสถาบันฯด้านยุทธศาสตร์และกฎหมาย เป็นวิทยากรหลัก ร่วมกับทีมวิทยากร โดยหัวข้อที่ได้นำเสนอ ได้แก่หลักการแนวคิดการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ แผน นโยบายระดับต่าง ๆ สู่การทบทวนแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 และมีผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการประกอบด้วย ผู้อำนวยการวิทยาลัย รองผู้อำนวยการวิทยาลัย หัวหน้าแผนงาน และครูผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 50 คน ณ ห้องประชุมเฟื่องฟ้า อาคารอำนวยการ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5
ในการนี้นายกสภาฯ ได้บรรยายพิเศษเกี่ยวกับความสำคัญของนโยบาย แผนระดับต่าง ๆ แนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้าน AI เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้การดำเนินชีวิตได้สะดวกสะบายมากขึ้น โดยบทบาทของ AI ถูกนำมาใช้กับการภาคการศึกษา โดยเฉพาะตัวอย่างการพัฒนาการศึกษาได้แก่ประเทศจีน ที่นำในเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการทำงาน การศึกษา การแพทย์ และใช้ในระบบเศรษฐกิจโดยเฉพาะข้อมูลด้านการควบคุมและสั่งการที่มีการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด รวมถึงการพัฒนาการศึกษาญี่ปุ่นมีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรม (ไคเซ็น) และเทคโนโลยีอย่างลงตัว สร้างสรรค์ สอดคล้องกับแนวคิด SDG ของโลกและสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 จะดำเนินการจัดการอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับ AI จำนวน 700 คน ในเดือนตุลาคม 2567 นี้ และจะเสนอเป็นนโยบายของสถาบันในการขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรมใน ปี 2568 ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพ และส่งเสริมนวัตกรรมในภาคการผลิตและบริการของประเทศ สร้างความยั่งยืนให้การอาชีวศึกษาต่อไป เพื่อลดความเสี่ยงในการดำรงชีวิตของบุคลากร ผู้เรียน นักเรียน นักศึกษา ในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 ให้มี่นคง ยั่งยืน รวมถึงยังมีโครงการอื่น ๆ ที่เป็นภารกิจเสริม นอกเหนือจากการเรียนการสอน การบริหารงานปกติทั่วไป เช่นโครงการก้าวดี โครงการความร่วมมือพัฒนากำลังคนคุณภาพสูงต่างประเทศ โครงการสร้างงานวิจัย สร้างให้ครูเป็นผู้สร้างวิจัย นวัตกรรม เพื่อเป็นข้อมูลการพัฒนาก้าวต่อไป อย่ามองแค่การสอนให้คนไปทำงานอาชีพอย่างเดียว ให้มองอนาคตว่าเยาวชนที่เข้ามาระบบการศึกษาจะมีอนาคตที่ดีได้อย่างไร
มีผู้อ่านข่าวนี้แล้ว 300 ครั้ง